วันนี้จะพาเพื่อนๆมาเที่ยวใกล้ๆกรุงเทพฯ วัดกำแพงแลง ประวัติน่ารู้ชื่อดั้งเดิมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด สำหรับชื่อที่เรียกกันว่า “กำแพงแลง” นั้นเป็นชื่อที่ผู้คนในรุ่นหลังเรียกกันตามลักษณะที่พบเห็น เนื่องจากภายในวัดมีปราสาทเขมร ก่อด้วยศิลาแลงและมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ จากลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ว่า “กำแพงแลง” หมายถึงกำแพงวัดที่ก่อด้วยศิลาแลงนั่นเองสายบุญคนไหนอยากตามมาไหว้พระ ก็ตาม ล็อตโต้สด มาดูได้เลย
วัดกำแพงแลง ประวัติความเป็นมา
เที่ยววัดกำแพงแลง ประวัติที่มา ชมสถาปัตยกรรมศิลปะขอม วัดกำแพงแลงเป็นวัดที่เก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรีมานานแล้วเดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอมสร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ เทวสถานที่สร้างขึ้นเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือเพียง 4 หลัง ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธแผ่ขยาย เข้ามา จึงได้แปลงเทวสถานแห่งนี้เป็นศาสนาสถานในพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และพื้นที่สำหรับการทำสังฆกรรมโดยทั่วไป ส่วนของโบราณสถานจะอยู่ในพื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีเขตของกำแพงศิลาแลงกั้น ส่วนพื้นที่ทำสังฆกรรมอยู่นอกเขตกำแพงศิลาแลง

วัดกำแพงแลง วัดสวย เที่ยวเพชรบุรี
สำหรับ วัดกำแพงแลง นั้น lottosod จะบอกว่าเป็นเพียงวัดแห่งเดียวในจังหวัดเพชรบุรี ที่มีโบราณสถานสมัยลพบุรีในยุคขอมเรืองอำนาจ ต่อมาในช่วงที่ลัทธิพราหมณ์นั้นเสื่อมถอยลง ที่นี่จึงกลายมาเป็นวัดพุทธไป และกลายมาเป็นวัดร้างในเวลาต่อมา จนมาถึงช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบูรณะ ใช้ชื่อว่าวัดกำแพงแลง ปัจจุบันวัดกำแพงแลง ตั้งอยู่ใน ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี สถานที่แห่งนี้มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเมืองเพชรบุรี คาดว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงปีพ.ศ. 1720-1780 เป็นช่วงที่มีการแผ่อำนาจเข้ามายังดินแดนทางภาคกลางของไทย และเมืองเพชรบุรีเป็นแหล่งสุดท้ายที่อาณษจักรขอมแผ่อิทธิพลมาถึง
ไหว้พระปรางค์ศิลาแลงวัดกำแพงแลง
เข้ามาในวัดจะมีลานจอดรถ บริเวณลานวัด มีต้นไม้ใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปรอบต้นไม้ พร้อมหลังคาเล็กๆ สำหรับให้เราเข้าไปนมัสการพระพุทธรูป มองเข้าไปด้านในจะเห็นปรางค์หลายองค์ เรียงรายกันอยู่ดูเหมือนกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ปรางค์เหล่านี้มีรูปแบบการสร้าง ที่มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ล้อมด้วยปรางค์อีก 4 องค์ อยู่ประจำ 4 ทิศ ทำให้เราได้เห็นความพิเศษของวัดกำแพงแลง ตรงที่เป็นวัดร่วมสมัยมีโบราณสถาน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มากส่วนเสนาสนะอื่นๆ จะเป็นแบบสมัยใหม่ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดกำแพงแลงเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 78 วันที่ 8 มีนาคม 2478

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดกำแพงแลง
แผนผังปราสาทวัดกำแพงแลง มีผังพื้นล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออกภายในกำแพงศิลาแลงเป็นที่ตั้งของปราสาทศิลาแลงแบบศิลปะเขมรทั้งหมด 4 องค์ ปราสาท 3 องค์ทางด้านหน้าวางตัวเรียงกันในแนวเหนือ – ใต้ ปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่บนฐานที่ซ้อนกัน แต่ส่วนยอดของปราสาทได้หักพังลงมาแล้ว ยังคงเหลือชั้นรัดประคดและชั้นอัสดงอยู่ ยังมีนาคปักและกลีบขนุนอยู่ตามส่วนยอดอยู่บ้าง เรือนธาตุของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ ซุ้มหน้าบันเหนือประตูทางเข้าของปราสาทยังมีลวดลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่
ลักษณะปราสาททิศเหนือ – ทิศใต้
ทางทิศเหนือมีปราสาทก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน ปัจจุบันหักพังลงเหลือเพียงส่วนด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเท่านั้น ลักษณะคงเป็นเช่นเดียวกับปราสาทประธานแต่มีขนาดเล็กกว่า มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกสลักปิดทึบไว้ 2 ชั้น ทิศใต้ มีลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทองค์อื่น โดยยังคงไว้ซึ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของส่วนยอดหรือศิขระ ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ เรือนธาตุและฐานบางส่วนได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ในภายหลัง มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกปิดทึบ

ลักษณะปราสาททิศตะวันตก
ปราสาทองค์ที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันตก จะตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธาน ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายลงมาเกือบหมด เหลือเพียงผนังทางด้านทิศเหนือและส่วนฐานเท่านั้น ซึ่งมีความสูงกว่าปราสาททุกองค์ โดยรูปร่างลักษณะจะคล้ายกับปราสาททางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ที่มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและใต้เป็นประตูหลอกเช่นกัน และยังมีกำแพงศิลาแลง ที่ก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบกลุ่มปราสาทและสระน้ำไว้ภายใน ที่กึ่งกลางของกำแพงศิลาแลงทั้ง 4 ด้านมีประตูทางเข้าด้านละ 1 ประตู สันกำแพงประดับด้วยบราลีศิลาแลง สระน้ำจะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกลุ่มปราสาทภายในเขตของกำแพงแก้ว เป็นสระน้ำกรุด้วยศิลาแลง แต่ในปัจจุบันถูกถมไปจนหมดแล้ว
หากว่าเพื่อนๆ คนไหนที่ได้มีโอกาสมาเที่ยวที่จังหวัดเพชรบุรีแล้วละก็ ต้องมาชมความงามของแหล่งโบราณคดีที่เป็นศิลปะขอมแบบบายน แห่งนี้ให้ได้สักครั้ง ปัจจุบันนี้วัดกำแพงแลงได้พัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ของจังหวัดเพชรบุรีซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน วัดกำแพงแลง เป็นโบราณสถาน ที่สำคัญของชาติ นับว่าเป็นโบราณสถานที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบัน ที่สำคัญ lottosod888 จะบอกว่าทางวัดยังฝึกสอนการปฎิบัติสมาธิ และวิปัสสนากรรมฐานทุกวันตั้งแต่เวลา 17.30 – 18.30 น.“สวัสดี”
หากท่านสนใจเป็นสมาชิกกับเราแค่เพียง คลิก สมัครสมาชิกหวยสด แค่ไม่กี่ขั้นตอนท่านก็สามารถรับทราบข่าวสารและสาระดี ๆ ได้ทุกวัน